พื้นที่ดำเนินโครงการ


ภายในมหาวิทยาลัย

SDGs :


กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพมหาวิทยาลัย

สู่มหาวิทยาลัย SDG ตามอัตลักษณ์เด่นของมหาวิทยาลัย



ระบบบริหารจัดการข้อมูลขยะ



  • บันทึกข้อมูลขยะ ของแต่อาคารภายในมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
  • สามารถดูรายการข้อมูลขยะได้ ในรูปแบบรายวัน รายเดือน และแยกตามประเภทขยะ
  • สามารถคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จากขยะได้


ภายนอกมหาวิทยาลัย (ชุมชนต้นแบบ ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)

SDGs :


โครงการพระราชดำริสระบ่อดินขาว อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์


            การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสระบ่อดินขาว ดำเนินการอย่างเป็นระบบ ทั้งการบริหารจัดการป่าต้นน้ำ การบริหารจัดการน้ำ การบริหารจัดการระบบสิ่งแวดล้อม ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่เป้าหมายในการพัฒนาพื้นที่ให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
            สำหรับการพัฒนาพื้นที่สระบ่อดินขาวในระยะยาวนั้น จะเป็นแหล่งเรียนรู้การทำการเกษตรแบบผสมผสาน อีกทั้ง ยังเป็นต้นแบบของการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนเพื่อชุมชน ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยการพึ่งพาตนเอง และแบ่งปันกันอย่างพอดี พอเพียง และพอเหมาะ เห็นถึงคุณค่าของทรัพยากรในชุมชน ก่อให้เกิดความสำนึกรักและหวงแหนท้องถิ่นของตน เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในการจัดการตนเองเพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำมาซึ่งความสุขอย่างสมดุลและยั่งยืนสืบไป

ที่มาโครงการในพระราชดำริฯ
ข้อมูลอ้างอิง : เว็บไซต์สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ภารกิจเพื่อสังคม โครงการพัฒนาพื้นที่สระบ่อดินขาว-อำเภอตาคลี-จังหวัดนครสวรรค์


โครงการพลิกฟื้นธนาคารควายไถนา ต.ตลุกดู่ อ.ทัพทัน จ. อุทัยธานี


           จากแนวพระราชดำรัสดังกล่าวจึงก่อให้เกิด โครงการพลิกฟื้นธนาคารควายไถนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้น้อมรับที่จะสนองพระราชดำริ จัดตั้งโครงการพลิกฟื้นธนาคารควายไถนาตามแนวพระราชดำริ โดยได้ดำเนินการเปิดโครงการมาตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2551 โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานในสังกัด ได้แก่ สำนักปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมปศุสัตว์ ส.ป.ก. กรมพัฒนาที่ดิน กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยส่งเสริมให้เกษตรกรแต่ละชุมชนรวมกลุ่มจัดตั้งกันเป็นวิสาหกิจชุมชน พร้อมจัดหาควายมาให้เลี้ยงตามควมต้องการรายละ 2-3 ตัว โดยกรมปศุสัตว์จะให้ยืมควายจากธนาคาร โค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ (ธคก.) ขณะที่กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เตรียมสินเชื้อดอกเบี้ยต่ำ อัตราร้อยละ 1 ต่อปี ไว้ให้เกษตรกรกู้ยืมไปซื้อควาย วงเงินรวม 10 ล้านบาท รวมทั้งฝึกอบรมการเลี้ยงควายให้เกษตรกร และฝึกควายไถนาควบคู่กันไป เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้จริง มีพื้นที่ดำเนินการนำร่อง 12 ชุมชนใน 12 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ศรีสะเกษ ยโสธร สกลนคร หนองบัวลำภู แพร่ น่าน ตาก นครศรีธรรมราช เชียงราย และอุทัยธานี

ที่มาโครงการในพระราชดำริฯ

ข้อมูลอ้างอิง  : สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)